แม่ไก่ตัดต่อพันธุกรรมอาจช่วยยุติการฆ่าลูกไก่เพศผู้หลายพันล้านตัวได้

บรรดานักวิจัยอิสราเอล ระบุว่า พวกเขาได้พัฒนาแม่ไก่ตัดต่อพันธุกรรมที่สามารถออกไข่และทำให้มีเฉพาะลูกไก่เพศเมียฟักออกมาเป็นตัว ส่วนลูกไก่เพศผู้จะไม่ฟักออกมา

 สัตว์เลี้ยง ความสำเร็จนี้อาจช่วยป้องกันการฆ่าลูกไก่เพศผู้หลายพันล้านตัวในแต่ละปีได้ เพราะการที่ไม่สามารถออกไข่ได้ ทำให้ลูกไก่เพศถูกฆ่าทิ้ง ส่วนลูกไก่เพศเมียและไข่ที่มันออกมาตอนที่โตเต็มวัย ไม่มีร่องรอยของการดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดขึ้นแต่เดิม องค์กรการกุศลด้านฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (Compassion in World Farming–CIWF) กลุ่มสวัสดิภาพสัตว์ ได้สนับสนุนการวิจัยนี้ดร. ยูวาล ซีเนมอน จากสถาบันวอลคานี (Volcani) ใกล้กับกรุงเทลอาวีฟในอิสราเอล ซึ่งเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการนี้ กล่าวกับบีบีซี นิวส์ ว่า การพัฒนาสิ่งที่เขาเรียกว่า “แม่ไก่โกลดา” จะส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสวัสดิภาพสัตว์ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก

แม่ไก่ตัดต่อพันธุกรรมอาจช่วยยุติการฆ่าลูกไก่เพศผู้หลายพันล้านตัวได้

เขากล่าวว่า “ผมดีใจมากที่เราได้พัฒนาระบบที่ผมคิดว่า สามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างแท้จริง นอกจากจะเป็นผลดีต่อไก่ ก็ยังเป็นผลดีต่อเราทุกคนด้วย เพราะนี่คือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนบนโลก”

บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ใส่ดีเอ็นเอที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมลงในแม่ไก่โกลดา ที่สามารถหยุดยั้งการพัฒนาตัวอ่อนของลูกไก่เพศผู้ในไข่ที่พวกมันวางได้ โดยดีเอ็นเอนี้จะถูกกระตุ้นเมื่อไข่ได้รับแสงสีฟ้านานหลายชั่วโมง ดร.ซีเนมอน กล่าวว่า ตัวอ่อนของลูกไก่ตัวเมียจะไม่ได้รับผลกระทบจากการรับแสงสีฟ้า และจะมีพัฒนาการตามปกติ ลูกไก่จะไม่มียีนตัดต่อพันธุกรรมจากทางฝั่งแม่อยู่ในตัวของพวกมัน  ข่าวสัตว์เลี้ยง และไข่ที่พวกมันวางด้วย” “เกษตรกรจะได้ลูกไก่เหมือนกับที่พวกเขาได้ในปัจจุบันนี้ และผู้บริโภคจะได้รับไข่เหมือนกับที่พวกเขาได้ในปัจจุบันนี้ทุกอย่าง” เขากล่าว “ความแตกต่างเล็กน้อยในกระบวนการผลิตเพียงอย่างเดียวคือ ไข่จะได้รับแสงสีฟ้า”

You may also like...