นับถอยหลังไลเซ่นส์ ‘ทีวีดิจิทัล’ ธุรกิจสื่อเปลี่ยน ขอยืดเวลา 5 ปี

อีก 7 ปี สิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัล แนวโน้มธุรกิจยังลุ้นทาง “รอด” ท่ามกลางโจทย์ใหม่ๆ กระทบธุรกิจ

ธุรกิจ ผู้ประกอบการแนะกสทช.วางแผนแม่บทใหม่สอดรับเทคโนโลยี พร้อมทดเวลาบาดเจ็บ หลังติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก ทำธุรกิจเสียโอกาส 5 ปีแรก
แม้จะเกินครึ่งทางแล้ว สำหรับการเปลี่ยนผ่านธุรกิจทีวีดิจิทัลของไทย ภายใต้การทุ่มเงินมหาศาลเพื่อประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการ(ไลเซ่นส์) เป็นเวลา 15 ปี แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาการถูก “ดิสรัป” จากเทคโนโลยี การเกิดขึ้นของสื่อใหม่ พฤติกรรมเสพสื่อของผู้บริโภคเปลี่ยนโฉมหน้า จนกระทบผู้ประกอบการ “ทีวีดิจิทัล” ประเภทธุรกิจ ที่เหลือ 15 ช่อง จะยังไม่หมดไป กลับกันเจอโจทย์ใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปีหนึ่งในความท้าทายของค่าย “ทีวีดิจิทัล” คือการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มโอทีทีระดับโลก ที่มีมากมาย ซ้ำร้ายผู้บริโภคยอมจ่ายเงินค่าสมาชิกรายเดือน(Subscription) เพื่อไม่ให้พลาดคอนเทนท์โปรดบนช่องทางดังกล่าว ทำให้การดูคอนเทนท์ผ่านทีวีดิจิทัลลดน้อยถอยลง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษา จึงเปิดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม(Focus group) ผ่านโครงการศึกษาแนวทางในการพัฒนาหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ไทย ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้หัวข้อ “โอกาสและทางรอดของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในระบบนิเวศสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป”สถาบันการศึกษานำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการปรับตัวของทีวีไทยในห่วงโซ่คุณค่าของแพลตฟอร์มรับชมวิดีโอออนไลน์(โอทีที) ความท้าทายใหม่ในโลกเทคโนโลยีสื่อหลอมรวมในตลาดน่านน้ำแดงเดือด(Red-ocean) ยังมีประเด็น “OTT TV โอกาสและทางรอดของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยในระบบนิเวศสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป” ถูกหยิบมาถกโดย 3 กูรูวงการสื่อ ผู้ผลิตคอนเทนต์

นับถอยหลังไลเซ่นส์ 'ทีวีดิจิทัล' ธุรกิจสื่อเปลี่ยน ขอยืดเวลา 5 ปี

อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ที่ปรึกษาเนชั่น กรุ๊ป และกรรมการสมาคมโทรทัศน์ระบบจิตอล(ประเทศไทย)

ให้มุมมองว่า โอทีที ทีวี เป็นโอกาสของผู้ประกอบการสื่อ ผู้ผลิตคอนเทนท์ เพราะถือเป็นช่องทางใหม่ในการนำเนื้อหารายการดี มีคุณภาพ ตอบโจทย์คนดูนับถอยหลังไลเซ่นส์ ‘ทีวีดิจิทัล’ ธุรกิจสื่อเปลี่ยน ขอยืดเวลา 5 ปี ทว่า โจทย์ใหญ่คือสิ่งที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเผชิญมาตลอดกว่าครึ่งทางของประมูลไลเซ่นส์มาทำธุรกิจ ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ การเสพสื่อเปลี่ยนแพลตฟอร์ม ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน มีทั้งการไลฟ์ สื่อสังคมออนไลน์ ฯ ทรงอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ การฝ่าพายุดิสรัปชั่นระลอกแล้วระลอกเล่า อาจทำให้ทีวีดิจิทัลค่ายต่างอาจอยู่ไม่รอด เพื่อไปคว้าขุมทรัพย์จากโอทีที ทีวีย่อมเป็นได้ เพราะนับวันยังมี “ตัวแปร” กระทบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกระแสทวิตเตอร์ ปรับลดคน เฟซบุ๊กหรือ Meta “ขาดทุน” เทคโนโลยีความคมชัดก้าวหน้าเป็น 4K-16K แต่ทีวีดิจิทัลของไทยยังเป็นระบบความคมชัดปกติ(เอสดี) เป็นต้น “โอกาสจากโอทีที ทีวีมีอยู่มหาศาล แต่ผู้ประกอบการจะรอดถึงได้ใช้โอกาสเหล่านั้นไหม แค่นั้นเอง” ทางรอด ต้องวางแผนแม่บทใหม่ทั้งนี้ หากต้องการให้ผู้ประกอบการทีวีดิจัล “รอด” บนเส้นทางสื่อ เพื่อรับโอกาสโอทีที ทีวี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องโละทิ้งโร้ดแมปเดิมๆ ลดข้อจำกัด และวางแผนแม่บทใหม่ ให้สอดคล้องกับภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ “แข่งขัน” ได้ เนื่องจากข้อดีที่เกิดจากการประมูลไลเซ่นส์ทีวีดิจิทัล คือเอกชนมีอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ซอฟท์แวร์ ทีมงานผู้เชี่ยวชาญผลิตคอนเทนต์ ที่ต่อยอดได้ หลังสิ้นสุดการระยะเวลาประกอบกิจการใน 7 ปีข้างหน้า“แผนแม่บทก่อนประมูลทีวีดิจิทัล ทิ้งไปได้เลย เรกูเลเตอร์ต้องเขียนใหม่ มองไปอีก 10 ปีข้างหน้า เหมือนสื่อยักษ์ใหญ่ต่างประเทศ ที่กำหนดว่าจะเลิกทำทีวี วิทยุ เวลานี้กสทช.เราต้องคิดได้แล้ว”ที่ผ่านมา กสทช.เจอผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ยังถามถึงการประมูลครั้งใหม่ หลังสิ้นสุดใบอนุญาตเดิม “อดิศักดิ์” ข่าวธุรกิจ ย้ำว่า “กรุณาเลิกถาม เพราะไม่มีใครประมูลแล้ว บนเงื่อนไขปัจจุบัน” นับถอยหลังไลเซ่นส์ ‘ทีวีดิจิทัล’ ธุรกิจสื่อเปลี่ยน ขอยืดเวลา 5 ปีนับตั้งแต่ประมูลไลเซ่นส์ทีวีดิจิทัล สร้างบาดแผลให้กับผู้ประกอบการมากมาย โดยเฉพาะการแจกกล่องรับสัญญาเข้าถึงประชาชน 22 ล้านครัวเรือน ซึ่งทำได้จริงเพียง 7-8 ล้านครัวเรือนเท่านั้น การลงทุนโครงข่ายทีวีดิจิทัล(มักซ์) สูญเปล่า เป็นต้น

You may also like...